วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นี่คือการนิยามคร่าวๆของผมสำหรับความหมายของ Cloud Computing
Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
ผมได้นิยามคำว่า Cloud Computing ในรูปแบบที่ (น่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นที่ นิยามคำว่า Cloud Computing ภาค 2 สำหรับท่านที่กำลังค้นหาหัวข้อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ Cloud Computing สามารถไปอ่านบทความของผมได้ในหัวข้อชื่อ หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing
รายละเอียดของนิยามมีอีกครับ เข้ามาติดตามได้เลย
ผมขอนิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบ DLNA


เทคโนโลยี DLNA คืออะไร?

         คำว่า DLNA  ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance นั่นเองครับ โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพง่ายๆก็คือ การทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใดๆที่สามารถเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ท และรองรับระบบ DLNA ได้นั้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่น บลูเรย์  หรือแม้แต่ AVRที่มีระบบ network ที่น้าๆใช้ดูหนังกันอยู่นี่ล่ะครับ โดยสามารถทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูป เล่นเพลง หรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ก็สามารถทำการแชร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องต่อสายให้ยุ่งยาก   

      ทำไมผมถึงอยากนำเสนอการเล่นแบบ DLNA นี้  ก็เพราะว่า เครื่องเล่นทั้งในระบบ โฮมเธียเตอร์ และ 2 แชแนลบางตัว บางรุ่นนั้น รองรับระบบนี้เกือบทั้งหมดแล้วนั่นเองครับ

เครื่องเล่น บลูเรย์ สมัยนี้ที่มีช่องต่อสายแลน เกือบทั้งหมดรองรับระบบนี้แล้วครับ AVR หลายๆรุ่นที่มีช่องต่อสายแลนก็รองรับแล้วเช่นกันครับ  สิ่งที่เราซื้อไปใช้งานนั้น สามารถใช้งานได้ในอีกรูปแบบ โดยที่อาจยังไม่รู้ ครับ ผมจึงมานำเสนอเผื่อตรงใจและ ตรงแนวน้าๆ  ก็จัดการลงมือได้เลยครับ ^^

      เมื่อเรา Stream file โดยการเซ็ทตามกระทู้ด้านล่างนี้เสร็จเรียบร้อยนั้น ไม่ว่าเครื่องเล่นใดๆ ที่รองรับระบบ DLNA ก็จะสามารถดึงไฟล์ เหล่านั้น มาเล่นได้ โดยอิสระครับ (AVR ยังยอมให้เล่นได้แค่ เพลง อันเนื่องมาจาก จรรยาบรรทางการค้าครับ 




 บันทึกการเข้า

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ICT กับการปฏิรูปการศึกษา
ICT จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาในหมวดที่ 9 เป็นจริง คือจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน ICT ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ วันเราและเกี่ยวข้องกับระบบงานต่างๆมากมาย ทั้ง ในทางตรงและทางอ้อม แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ ICT เข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษา กล่าวคือ รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาชีพความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะ ในการผลิตรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการระเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนเวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556


 
คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลก ๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่น ๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลขไอพีประจำเครื่องครับโดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือเป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น เช่นเดียวกันครับ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบนเราเรียกว่า IPv4 ครับโดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย.) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิตโดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0-255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่ง แต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นชั้นชนิดต่างๆ ดังนี้ครับ
  1. คลาสเริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส Bเริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส Cเริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส Dเริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส Eเริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือไอพีส่วนตัว (Private IP) IP และสาธารณะ (เผยแพร่ IP)
โดย IP ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัวคลาสเริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัวคลาส Bเริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัวคลาส Cเริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
(Internet)
ส่วนไอพีสาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลขเช่นเครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.232เครื่องครับซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอเพราะว่า IPv4
แล้วเราจะทำอย่างไรดี IP ให้เราใช้ล่ะ IP ใหม่ขึ้นมาครับโดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol รุ่นที่ 6) โดย IP IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิตดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2 128หมายเลขครับ